การตั้งเจตนาถือศีลอดหกวันเชาวาล
พร้อมกับชดที่ค้างจากเราะมะฎอนด้วยเนียตเดียว

[ ไทย ]
لا يصح جمع قضاء رمضان مع ست شوال بنية واحدة
 [ باللغة التايلاندية ]
www.islamqa.com
موقع الإسلام سؤال وجواب
แปลโดย: ซุฟอัม อุษมาน
ترجمة: صافي عثمان
ตรวจทาน: ซุฟอัม อุษมาน
مراجعة: صافي عثمان
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด
المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض
1428 – 2007
لا يصح جمع قضاء رمضان مع ست شوال بنية واحدة
هل يجوز أن أصوم الستة أيام من شوال بنفس النية بقضاء الأيام التي أفطرت فيها في رمضان بسبب الحيض ؟  (موقع الإسلام سؤال وجواب، رقم السؤال 39328)
การตั้งเจตนาถือศีลอดหกวันเชาวาลพร้อมกับชดที่ค้างจากเราะมะฎอนด้วยเนียตเดียว

ถาม :
ฉันสามารถที่จะถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลด้วยการตั้งเจตนา(เนียต)พร้อมๆ กับ

 เนียตถือศีลอดชดใช้ของเดือนเราะมะฎอนที่ค้างอยู่ด้วยสาเหตุของการมาประจำเดือนได้หรือไม่ ? (www.islamqa.com คำถามหมายเลข 39328)

ตอบ : อัลหัมดุลิลลาฮฺ การทำเช่นนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลจะไม่สมบูรณ์นอกจากต้องถือศีลอดของเดือนเราะมะฎอนให้เสร็จเสียก่อน

ท่านเชค อิบนุ อุษัยมีน ได้กล่าวใน "ฟะตาวา อัศ-ศิยาม" หน้า :
438 ว่า  
"ผู้ใดที่ถือศีลอดวันอะเราะฟะฮฺ หรือ วันอาชูรออ์ ทั้งๆ ที่ยังต้องถือศีลอดชดของเดือนเราะมะฎอนอยู่ การถือศีลอดนั้นย่อมใช้ได้ แต่ถ้าหากเขาตั้งเจตนาว่าจะถือศีลอดในวันเหล่านี้พร้อมๆ กับการชดใช้ของเดือนเราะมะฎอน เขาก็จะได้สองผลบุญคือ ผลบุญของวันอะเราะฟะฮฺหรือวันอาชูรออ์พร้อมกับผลบุญของการชดใช้ของเดือนเราะมะฎอน อันนี้สำหรับการถือศีลอดสุนัตทั่วๆ ไปที่ไม่เกี่ยวพันกับเราะมะฎอน ส่วนการถือศีลอดหกวันในเดือนเชาวาลนั้น(แตกต่างจากการถือศีลอดทั่วไป)เพราะมีความเกี่ยวพันกับเราะมะฎอน กล่าวคือจะไม่มีนอกจากต้องถือศีลอดชดใช้ของเดือนเราะมะฎอนเสียก่อน ถ้าหากถือก่อนที่จะชดของเราะมะฎอนก็จะไม่ได้รับผลบุญนั้น(ตามความเห็นหนึ่งของมัซฮับหันบะลีย์ – ผู้แปล) เพราะหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่มีความว่า "ผู้ใดที่ถือศีลอดเราะมะฎอนแล้วถือศีลอดตามหลังจากนั้นหกวันในเดือนเชาวาล นั่นเสมือนว่าเขาได้ถือศีลอดถึงหนึ่งปี" (บันทึกโดยมุสลิม 1984) และเป็นที่รู้กันว่าผู้ใดที่ยังต้องมีภาระชดใช้ของเดือนเราะมะฎอน เขาจะไม่นับว่าถือศีลอดเราะมะฎอนครบจนกว่าจะชดใช้จนสมบูรณ์"

www.islamqa.com